รูปปั้นสามก๊ก ขงเบ้งขี่มังกร
ขงเบ้ง หรือ จูกัดเหลียง หรือ ฮกหลง มังกรหลบ ถือเป็น “มหาบุรุษ เทพแห่งปัญญา” รูปปั้นจำลองขนาดจริง 1:6 เป็นประติมากรรมงานศิลป์อันวิจิตรเข้มขลัง สง่างามโดยจำลองลักษณะรูปร่างตามตัวละครในปัจจุบัน อย่าพลาดจำหน่ายในราคาพิเศษ เพื่อเป็นของขวัญและกำลังใจแก่ท่านผู้รักในสามก๊ก เสมือนมียอดบุรุษแห่งเทพคุ้มครอง เสริมสร้างบารมีและแรงบันดาลใจ
ขนาด 22 x 31 x 35 ซม.
จำหน่ายให้ท่านในราคาพิเศษเพียง 7,400 บาท เฉพาะช่างเปิดตัวราคาพิเศษเพียง 5900 บาท บรรจุอยู่ในโฟมหนากันกระแทกภายกล่องอย่างดี จัดส่งถึงที่บ้านท่าน
ประวัติความเป็นมา
จูกัดเหลียง หรือ ขงเบ้ง (孔明) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน
ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก จูกัดเหลียงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า "ฮกหลง" หมายถึงมังกรซุ่มหรือมังกรหลับ จากคำแนะนำของสุมาเต็กโชและชีซีที่หลงกลอุบายของโจโฉจำต้องหวนกลับไปอยู่วุ่ยก๊กด้วยความจำใจ ทำให้เล่าปี่ต้องดั้งด้นมาเชิญตัวจูกัดเหลียงด้วยตัวเองถึงสามครั้งสามครา จูกัดเหลียงมีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังก่อนที่พระเจ้าเล่าปี่จะสวรรคต ได้ฝากฝัง เล่าเสี้ยนให้ดูแลบ้านเมืองต่อไป
ขงเบ้ง มีชื่อจริงว่าจูกัดเหลียง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของจูกัดฟ่ง ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ จูกัดเหลียงมีพี่ชายและน้องชายอย่างละคนคือ จูกัดกิ๋นพี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊กและน้องชายจูกัดจิ้น จูกัดเหลียงมีอุปนิสัยและความคิดที่ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉานทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต คุณธรรม ใจคอเยือกเย็นมีเมตตา ชอบอวดอ้างและลองดีกับผู้ที่มีนิสัยกล่าวโอ้อวดตนเอง อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้านที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน
จูกัดเหลียงมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี หรือ ตันฮก (ชื่อตันฮกใช้ในการหลบหนี) สื่อกวงเหวียน (โจ๊ะก๋งหงวน) เมิ่งกงเวย (เบงคงอุย) และซุยโจวผิง ซุยเป๋ง และจูกัดเหลียงมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่จูกัดเหลียงกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีและซุยเป๋งเท่านั้นที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ยิ่งไปกว่านั้นยอดปราชญ์แห่งสามก๊กอย่างอาจารย์สุมาเต๊กโช ยังยกย่องว่าไม่เพียงแค่เปรียบได้กับขวันต๋งและงักเยเท่านั้น ยังเปรียบได้กับเจียงไท่กง คนตกปลาอายุร่วม 80 ผู้หนุนราชวงศ์จิวและเตียงเหลียงผู้หนุนราชวงศ์ฮั่นอีกด้วย ทำให้รู้ว่านอกจากจูกัดเหลียงจะเป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องแล้วยังเป็นผู้มีความจงรักภักดีเป็นอย่างมาก
จูกัดเหลียงมาเป็นที่ปรึกษาให้แก่เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี และคำกล่าวยกย่องจูกัดเหลียงและบังทองจากสุมาเต๊กโช ซึ่งถ้าเล่าปี่ได้บุคลหนึ่งในสองนี้เป็นที่ปรึกษา จะสามารถทำการใหญ่กอบกู้แผ่นดินได้สำเร็จ โดยเล่าปี่ต้องดั้งด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็น และเข้าคำนับผิดคนที่มีท่าที่และการเจรจาที่ฉลาดเฉลียวมาตลอดเส้นทางด้วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นจูกัดเหลียง เล่าปี่มาหาจูกัดเหลียงด้วยใจศรัทธาถึงกระท่อมไม้ไผ่ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 คราก็ไม่พบตัวจูกัดเหลียงแม้แต่ครั้งเดียว
จูกัดเหลียงเป็นผู้ชอบลองนิสัยของบุคคล ยิ่งเห็นเล่าปี่ศรัทธาในตนยิ่งนักจึงแกล้งลองใจเล่าปี่ด้วยการหลบออกจากบ้าน และแกล้งให้เด็กรับใช้แจ้งแก่เล่าปี่ว่าตนไม่อยู่บ้าน และครั้งสุดท้ายบอกว่าตนนอนหลับ เล่าปี่ก็ไม่ละความพยายามในความอุตสาหะที่จะเชิญตัวจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วย เมื่อจูกัดเหลียงนอนหลับจึงมายืนสงบที่ปลายเท้าด้วยกิริยาสำรวมรอคอยจนกระทั่งจูกัดเหลียงตื่น และได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เล่าปี่เอ่ยปากเชิญจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกันเพื่อกิจการบ้านเมือง จูกัดเหลียงเห็นความมานะพยายามของเล่าปี่รวมทั้งอุปนิสัยใจคอและการเป็นคนอาภัพวาสนา จึงยอมไปอยู่ด้วย ซึ่งขณะนั้นจูกัดเหลียงมีอายุได้เพียง 26 ปีเท่านั้น
เมื่อจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกับเล่าปี่ ซึ่งได้รับการเอาใจใส่ดูแลและให้การเคารพนับถือเช่นอาจารย์ ทำให้จูกัดเหลียงมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อจูกัดเหลียงได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการใช้ไฟทำลายทัพของแฮหัวตุ้น แม่ทัพเอกของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว และโจหยิน จูกัดเหลียงก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง
ในการพบกันครั้งแรกระหว่างจูกัดเหลียงและเล่าปี่นั้น ขณะนั้นเล่าปี่ยังไม่มีเมืองขึ้นเป็นของตัวเอง เป็นเพียงกองทัพเร่รอนที่หนีอาศัยเจ้าเมืองต่างๆอยู่ แผ่นดินจีนยังไม่มีสภาพเป็น3ก๊ก แต่มีก๊กเล็กก๊กน้อยอิสระมากมายจูกัดเหลียงได้แสดงวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลและก็สำเร็จเป็นจริงในอีกหลายสิบปีต่อมา นั่นคือการทำแผ่นดินเป็น3ก๊กเพื่อคานอำนาจระหว่างกันโดยแนะนำให้เล่าปี่เป็นพันธมิตรกับซุนกวนเพื่อคานอำนาจและกองกำลังที่ยิ่งใหญ่ของโจโฉ ภายหลังศึกเซ็กเพ็กที่พันธมิตรซุนกวนและเล่าปี่มีชัยเหนือโจโฉ เล่าปี่ได้ขยายอาณาเขตไปทางเสฉวนทางฝั่งตะวันตกและได้เกิดเป็นลักษณะ3ก๊กขึ้นอย่างเบ็ดเสร็จ นับตั้งแต่เล่าปี่ได้ขงเบ้งมา อาณาจักรจ๊กก๊กก็เริ่มถูกสร้างเป็นรูปเป็นร่างจนเป็นปึกแผ่นและมีความกล้าแข็งที่กลับไปบุกอาณาจักรวุยก๊กของโจโฉถึง6 ครั้ง แต่ด้วยความเสียเปรียบทางชัยภูมิและทรัพยากรอันมหาศาลของอาณาจักรวุยก๊ก และความสัมพันธ์ที่ตกต่ำกับพันธมิตรซุนกวนที่เกิดขึ้น ทำให้โอกาสความสำเร็จจึงเกิดขึ้นน้อย โดยขงเบ้งจะถอนทัพกลับมาแม้จะมีชัยชนะที่ได้ในสนามรบแรกๆแต่เมื่อประเมินสถานการณ์แล้วว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นและไม่เป็นไปตามแผนซึ่งจะทำให้ในระยะยาวจะไม่ชนะก็จะถอยทัพกลับเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่กองทัพ
ยามออกศึก จูกัดเหลียงจะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว จูกัดเหลียงเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่าเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า จูกัดเหลียงเป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยจูกัดเหลียงมีฐานะเป็นสมุหนายก (ไจ่เซียง, เสิงเสี้ยงในสำเนียงจีนกลาง) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 6 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิตจูกัดเหลียงเจ็บออดๆ แอดๆ อยู่เสมอ จูกัดเหลียงสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี (จูกัดเหลียงฉบับการ์ตูนบอกว่าสิ้นอายุเมื่อตอน 52 ปี) บนรถม้ากลางสนามรบ ในหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
เรื่องการดูดาวประจำตัวนั้นจูกัดเหลียงรู้แต่สุมาอี้ก็รู้ สุมาอี้ต้องการยืนยันความรู้ของตนว่าจูกัดเหลียงใกล้ตายแล้วหรือไม่ด้วยการส่งทัพมาท้ารบ ถ้าทัพจูกัดเหลียงออกสู้ แสดงว่าจูกัดเหลียงยังไม่เป็นอะไรถ้าไม่สู้แสดงว่าจูกัดเหลียงแย่แล้วจะได้ตีซ้ำบดขยี้ทัพจูกัดเหลียงให้แหลกลาญ จูกัดเหลียงรู้ทันความคิดแม้รู้ว่าชีวิตจะสิ้นยังคงสติได้ดีสั่งให้ทหารออกปะทะขับไล่ทัพสุมาอี้ถอยไปตามเดิม
ถึงจูกัดเหลียงลาลับดับโลก แต่ยังได้ทำพิธีรักษาดวงดาวประจำตัวไม่ให้ร่วงหล่นจากฟากฟ้า เป็นการขู่สุมาอี้ มิให้ตามโจมตีเวลาถอยทัพ ซึ่งอุบายนี้สามารถรักษาชีวิตทหารของตนได้หลายหมื่น และยังทำให้อาณาจักร จ๊กก๊ก (ของเล่าปี่) ยืนยาวอยู่ได้อีกกว่ายี่สิบปี พระเจ้าเล่าเสี้ยนโศกเศร้าเสียพระทัยมาก ศพของจูกัดเหลียงถูกฝังอยู่ที่เชิงเขาเตงกุนสัน ปากทางเข้าเสฉวน
ภายหลังจากที่จูกัดเหลียงสิ้นชีวิตไปแล้ว 29 ปี เมื่อเตงงายแม่ทัพของวุยก๊กได้ยกทัพผ่านมาทางเขาเหยียดฟ้าปากทางเข้าเมืองเสฉวนอีกทาง ได้พบกับป้อมค่ายที่ร้างบนเขาซึ่งปราศจากทหารดูแลเมื่อจูกัดเหลียงสิ้นชีวิตไปแล้ว ซึ่งจูกัดเหลียงทำนายว่า ในอนาคตข้างหน้าจะมีแม่ทัพของวุยก๊กยกทัพผ่านทางนี้จึงให้เฝ้าระวังไว้ และเมื่อจงโฮยแม่ทัพวุยก๊กอีกคนที่ยกทัพผ่านมาทางเขาเตงกุนสัน นอนหลับไปฝันเห็นว่าจูกัดเหลียงมาเข้าฝันว่า เมื่อยกทัพเข้าเสฉวนได้แล้วขอให้ไว้ชีวิตราษฎร ซึ่ง จูกัดเจี๋ยม ที่เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊กได้เข้าต่อต้านทัพวุยและก็เสียชีวิตพร้อมบุตรชายตัวเองในครั้งนี้ด้วย ปัจจุบันมีศาลเจ้าจูกัดเหลียงและเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย และบรรดาขุนพลของจ๊กก๊กที่เมืองเฉินตูมณฑลเสฉวน ซึ่งได้รับการบูรณะในปีที่ 11 ของรัชสมัยจักรพรรดิคังซีของราชวงศ์ชิง